
ชื่อภาพ : ความเหงา
เทคนิค : หล่อทองเหลือ
ขนาด : 5 x 7 x 45 เซนติเมตร
ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต
สาขาวิชาทัศนศิลป์
ข้าพเจ้าเติบโตและอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่เด็ก และมักเดินทางไปสถานที่ต่างๆในชีวิตประจำวันด้วยรถโดยสารประจำทาง ภาพของเมืองกรุงเทพฯเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ความเปลี่ยนแปลงหล่านี้ดูได้จากการขยายตัวของอาหารและสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่มขึ้นทั้งแนวตั้ง
และแนวนอน การขาดการวางแผนในของการจัดวางสถปัตยกรรมรูปแบบใหม่ท่ามกล่างสถปัตยกรรมในรูปแบบเก่า ถนนที่ถูกตัดขึ้นมาใหม่หลายสายและทอดยาวสุดสายตา และเสาคอนกรีตของทางด่วนลอยฟ้าที่เรียงต่อเนื่องอย่างเป็นระเบียบในแนวลึกเป็นต้น ทัศนียภาพของเมืองที่ปรากฎ
อยุ่เบื้่องหน้าที่เต็มไปด้วย การพัฒนา ก่อให้เกิดความรู็สึกเหงาและโดดเดี่ยวอย่างน่าประหลาด
ข้าพเจ้าพิจารณาว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวอันเนื่องมาจากการอยู่คนเดียวหรือการไร้ญาติขาดมิตรแต่เป็นผลอันเกิดจากปฎิกริยาระหว่าง "ภาพ" ที่ตาเห็นทัศนียภาพของเมืองและ"รูปทรง" ที่เกิดจากาการประมวลผลประสาทสัมผัสทั้งห้าของข้าพเจ้า เพื่อให้เห็นการสร้าง
สรรค์ผลงานประติมากรรมในวิทยานิพนธ์ชุด "ภาพ"และ "รูปทรง" อย่างถ่องแท้ สอง สร้างให้ "ภาพ"และ "รูปทรง" เกิดปฎิกริยาในทางทัศนศิลป์ผ่านสื่อประติมากรรมและสามจัดการให้ปฎิกริยาดังกล่าวสามารถสื่อถึงลักษณะเฉพาะของ"ภาวะโดดเดี่ยวในเมือง"
เทคนิค : หล่อทองเหลือ
ขนาด : 5 x 7 x 45 เซนติเมตร
เทคนิค : หล่อทองเหลือง
ขนาด : 90 x 30 x 60 เซนติเมตร
เทคนิค : อิพ็อกซี่,เหล็ก,กระดาษ
ขนาด : 75 x 60 x 110 เซนติเมตร
เทคนิค : ทองเหลือง ,เหล็ก,อิพ็อกซี่
ขนาด : 75 x 60 x 110 เซนติเมตร